การ ‘สร้างความทรงจำที่สมองชอบ’ จึงเป็นกระบวนท่าของหลายธุรกิจที่ไม่อยากเล่นเกมส์สั้น
เฮลโหลคิตตี้ เป็นคาแรคเตอร์แมวมีแรงบันดาลใจจาก มิคกี้เมาส์ซึ่งเป็นหนูที่มีชีวิตชีวา ซึ่งโดเรมอนคือส่วนผสมที่ลงตัวจากพลังของสองคาแรคเตอร์นี้ โรนัลโดในช่วงเวลาที่ฟอร์มตกไปเกือบปี ได้เจอกับไทเกอร์วู้ดโดยบังเอิญ ซึ่งไทเกอร์ให้กำลังใจโรนัลโดว่า “ถ้าคุณเคยทำประตูถล่มบาร์เยิร์นมิวนิกได้…..คุณก็กลับมาได้อีกครั้งนึง”
ความจริงคือ เฮลโหลคิตตี้ไม่ได้มีแรงบันดาลใจหรือเกี่ยวกับมิคกี้เมาส์แต่อย่างใด และถึงโดเรมอนจะเป็นแมวก็ไม่เกี่ยวกับเฮลโหลคิตตี้เลย ที่สำคัญเจ้าเฮลโหลคิตตี้จริงๆ แล้วเป็นแมวสัญชาติอังกฤษนะ!
ส่วนโรนัลโดเคยถล่มบาเยิร์นจริง แถมยังสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเตะคนแรกของโลกที่ยิงประตูทะลุ 100 ลูก ในศึกยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก หลังจากทำแฮตทริกช่วยให้เรียลมาดริดเอาชนะบาเยิร์น มิวนิค 4-2 ในการเล่นต่อเวลาพิเศษ แต่เค้าไม่เคยเจอกับไทเกอร์วู้ดส์
สมองเป็นกล่องที่มีชีวิตจิตใจ ส่วนความทรงจำคือโรงภาพยนตร์ในกล่องใบนี้ ที่เก่งกาจในการสะสม จัดการ ปรับแต่ง ต่อเติม ลดทอน เรียบเรียงเหล่าข้อมูลที่เก็บรับเข้ามาและบ่อยครั้งที่หนังเรื่องเดิมถูกตัดต่อเป็นเวอร์ชั่นใหม่ คุณจำทริปไปเที่ยวทะเล เที่ยวต่างจังหวัด เที่ยวต่างประเทศเมื่อ 3 ปีก่อนได้ไหม ลองนึกเหตุการณ์ดู คุณอาจพบว่า เหตุการณ์นั้น อาจเป็นของ 5 ปีก่อน หรือ ผสมของปีนั้นปีนี้เข้าด้วยกัน หรือแม้แต่กินอาหารร้านโปรดที่มีสาขาหลายแห่ง คุณอาจจับเหตุการณ์นึง ไปปะติดปะต่อกับอีกสถานที่นึงก็เป็นได้
หรือตัดต่อเป็นหนังเรื่องใหม่ไปเลย
ในปี ค.ศ. 1983 หลังจากที่ Nancy Anneatra ได้รับการบำบัดจาก Celia Luasted ผู้ซึ่งยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจิตบำบัดในขณะนั้น Nancy ได้กล่าวหาว่า เธอถูกพ่อกระทำชำเราเมื่อสมัยเธอเป็นเด็ก แม้ว่าสุดท้ายแล้วศาลจะยกฟ้องคดีนี้ แต่ Nancy ได้เปลี่ยนชื่อและตัดขาดกับพ่อแม่ของเธอ ความจริงของเธอที่ว่าถูกพ่อข่มขืนติดตัวเธอไปจนวันที่สิ้นลม ทั้งที่มันเป็นความทรงจำปลอม
https://www.psy.chula.ac.th/…/feature…/false-memory-2
เหตุการณ์ข้างต้นชี้ให้เห็นขั้นสุดของสมองว่า
มันมีกลไกในการบันทึก ลบ และเรียบเรียงนี้เอง
ทำให้การตลาดผ่านการนำวิธีเข้า’รหัสความรู้สึก’ โดยใช้กลไกสมองของผู้บริโภคในจุดนี้ไปจัดการ ‘สร้างความทรงจำที่สมองชอบ’ จึงเป็นกระบวนท่าของหลายธุรกิจที่ไม่อยากเล่นเกมส์สั้น
- การไปโรงหนัง ทำให้เรารู้สึกอยากกินป๊อปคอร์นกับโค้ก
- เดินผ่านร้านเสื้อโปรด บวกป้ายเซลล์ ทำให้เรารู้สึกเอาซะหน่อยน่า แล้วก็ซื้อติดมือมาไม่รู้ทำไม
- กินไก่ทอดกับเบียร์แล้วรู้สึกอยากไปเกาหลี
- ช่วงเวลาพักผ่อนริมชายหาด จะนึกถึงเบียร์ยี่ห้อนึง ส่วนเมื่อไปร้านอิซากายะจะต้องกินเบียร์สัญชาติญี่ปุ่น
- ตราดาวสามแฉกบ่งบอกถึงความรวยของผู้ขับ
- การเข้าแถวหน้าร้านอาหารชื่อดัง ทำให้รู้สึกอยากกินขนมมากขึ้น และยอมรับกับความแพงแลกกับคิวที่รอนาน
และอีกมากมายหลายธุรกิจที่สร้าง ‘รหัสความรู้สึก’เหล่านี้ไว้ ผมเชื่อว่าธุรกิจของเพื่อนๆ ก็มี และสร้างได้
ทำไมต้องความรู้สึก?
สมองมันขี้เกียจครับ ถ้าไม่เชื่องั้นลอง
3×1236+9088777-5457.89075+0.65443888=?
แค่จะจิ้มเครื่องคิดเลขก็ขี้เกียจแล้วจริงไหมครับ
ส่วนเรื่องช่างรู้สึกนั้น หลายเรื่องที่อยากจะจำกลับลืม หรืออยากจะลืมกลับจำ
โดยเฉพาะรักแรก มันชอบเลือกจำในสิ่งที่เจ้าของสมองเองก็บังคับไม่ได้
แล้วจะดีไหม ถ้าแบรนด์ของเพื่อนๆ นั้นเสมือนความทรงจำรักแรกของ
‘ว่าที่ลูกค้า’
ฉะนั้นการนำเข้า ‘รหัสความรู้สึก’ คือ กลยุทธ์การสร้างพื้นที่ความทรงจำของผู้บริโภคให้นึกถึง ‘แบรนด์’ ที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การซื้อ ซึ่งนี่คือกลไกหลักหนึ่งของการบริโภคของมนุษย์มายาวนานครับ ซึ่งมันจะเป็นอะไรไปได้ล่ะถ้าไม่ใช่